วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน

อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่า
แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว
เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตน
เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย
สิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็น
พระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อ
พระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
ดังนี้.
อานนท์ ! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม
ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า.... ในองค์พระธรรม....
ในองค์พระสงฆ์....
และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของ
เหล่าอริยเจ้า
คือเป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ
เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.
อานนท์ ! ธรรมปริยายอันนี้แล ที่ชื่อว่า
แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว
เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้, ดังนี้แล.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๐-๔๕๑/๑๔๗๙-๑๔๘๐.

มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิด ๆ

มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคาม
เอาแล้ว ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตน ๆ :
นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย, นั่นไม่ใช่ที่พึ่ง
อันสูงสุด; ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้น ๆ เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้น
ไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.

ส่วนผู้ใด ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นที่พึ่งแล้ว เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ
เห็นทุกข์, เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์, เห็น
ความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์, และเห็นมรรคประกอบด้วย
องค์แปดอันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงความเข้าไปสงบ
รำงับแห่งทุกข์ : นั่นแหละคือ ที่พึ่งอันเกษม, นั่นคือ ที่พึ่ง
อันสูงสุด; ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจาก
ทุกข์ทั้งปวง ได้แท้.


ธ. ขุ. ๒๕/๔๐/๒๔.

สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
: ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้กับมหาปฐพีนี้ ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

“ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่ง
การคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค (ส่วนเสี้ยว)”

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น :สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย;
สัตว์ที่เกิดกลับมาเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ :-
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้,
เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”

ดังนี้.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๗๘/๑๗๕๗.

* โยคกรรม คือ การกระทำอย่างเป็นระบบ

การรู้อริยสัจเป็นของไม่เหลือวิสัย พระอริยบุคคล จึงมีปริมาณมาก

วัจฉะ ! ภิกษุผู้สาวกของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่า
มาก โดยแท้.

วัจฉะ ! ภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่
สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก
โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็น
คฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์,
เป็น โอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพาน
ในภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา,
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง
ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก
โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็น
คฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอน
เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้อง
กล่าวด้วยความสงสัยว่า นี่อะไร ๆ เป็นผู้ปราศจากความ
ครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว
ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็น
หญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เป็น โอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพานใน
ภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา,
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง
ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมาก
กว่ามากเป็นแท้.

วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็น
หญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอน
เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้อง
กล่าวด้วยความสงสัยว่านี่อะไร ๆ เป็นผู้ปราศจากความ
ครั่นคร้าม ไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว
ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่ามากเป็นแท้.

ม. ม. ๑๓/๒๕๑ - ๒๕๓/๒๕๕- ๒๕๖.

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลมารู้อยู่อย่างไร
เห็นอยู่อย่างไร จึงไม่ยึดถือว่าเรา ไม่ยึดถือว่าของเรา    
อั นเป็นอนุสัยคือ มานะ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงภายนอก? พระเจ้าข้า !” 

กัปปะ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่าใด ทั้งที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน 
อันมีอยู่ภายในหรือข้างนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกได้เห็นสิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) 
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้น่ันแหละ ; 
กัปปะ! บุคคลต้องรู้อย่างนี้แหละ เห็นอยู่อย่างนี้แหละ จึงไม่ยึดถือว่าเรา ไม่ยึดถือว่าของเรา 
อันเป็นอนุสัยคือมานะในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกอื่นทั้งหมดนั้นแล.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลมารู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตใจจึงจะเห็นธรรมชาติ 

ปราศจากความยึดถือว่าเรา ปราศจากความยึดถือว่าของเรา
อั น เ ป็ น ม า น ะ เ ค รื่ อ ง ถื อ ตั ว ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงภายนอก ; 
รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตใจจึงจะก้าวล่วงมานะเสียด้วยดี สงบระงับได้ พ้นวิเศษไป ? พระเจ้าข้า !” 
กัปปะ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่าใด ทั้งที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน 
อันมีอยู่ภายในหรือข้างนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ก็ดี 
อริยสาวกได้เห็นสิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงขึ้นว่า
   นั่นไม่ใช่ของเรา(เนตํมม) นั่นไม่เป็นเรา(เนโสหมสฺมิ)
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้แล้วหลุดพ้นไป เพราะไม่ยึดมั่นนั่นแหละ ;
 

กัปปะ ! บุคคลต้องรู้อย่างนี้แหละ เห็นอยู่อย่างนี้แหละ 
จิตใจจึงจะเป็นธรรมชาติปราศจากความยึดถือว่าเรา 
ปราศจากความยึดถือว่าของเรา อันเป็นมานะเครื่องถือตัว
ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกอ่ืนทั้งหมดทั้งสิ้นได้,

และจิตใจจะก้าวล่วงมานะเสียได้ด้วยดี สงบระงับได้ พ้นวิเศษไปด้วยดี, ดังนี้แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๗/๓๑๙.

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอ
เป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม
ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม;
ชนเหล่านั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น
ในความจริงอันประเสริฐสี่ประการ
ด้วยปัญญาอันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง
ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ?
สี่ประการคือ

ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์,
ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์,
ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
และความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”

ดังนี้.
มหาวาร. ส°. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๖.